มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2563 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2564 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์
มร.ยามาชิตะ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมามาตรการจากทางภาครัฐประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพวกเราทุกคน ทำให้เราเชื่อมั่นว่าสถานการณ์กำลังจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และคาดว่าอนาคตอันสดใสกำลังจะเริ่มขึ้นนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ถึงแม้ว่าสถานการณ์การระบาดจะกลับมาอีกครั้งก็ตาม ทั้งนี้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัดจะอยู่เคียงข้างคนไทยเสมอ พร้อมต่อสู้ไปด้วยกันจนกว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งนี้จะสิ้นสุดลง และหวังว่าคนไทยทุกคนจะปลอดภัยและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ”
มร.ยามาชิตะ กล่าวต่อไปว่า “สำหรับยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2563 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายลดลง 21.4% โดยมียอดขายอยู่ที่ 792,146 คัน”
สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี2563 | ยอดขายปี 2563 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2562 |
ปริมาณการขายรวม | 792,146 คัน | -21.4% |
รถยนต์นั่ง | 274,789 คัน | -31.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 517,357 คัน | -15.1% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 409,463 คัน | -16.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 364,887 คัน | -15.5% |
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2564 มร.ยามาชิตะคาดการณ์ว่า “ในปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายอีกครั้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เนื่องจากยังคงต้องเผชิญกับหลายปัจจัย จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทั้งหมดนี้จะส่งผลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมทางการตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ จะมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ เหล่านี้แล้ว จึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 7-14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี2564 | ยอดขาย
ประมาณการปี 2564 |
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี2563 |
ปริมาณการขายรวม | 850,000 – 900,000คัน | + 7-14% |
รถยนต์นั่ง | 290,000 – 318,000 คัน | + 5-15% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 560,000 – 582,000 คัน | + 8-13% |
มร.ยามาชิตะ กล่าวถึงยอดขายของโตโยต้าในปีที่ผ่านมาว่า “สำหรับยอดขายโตโยต้าในปี 2563 ยอดขายรวมของโตโยต้าลดลง 26.5% หรือคิดเป็นจำนวน 244,316 คัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทฯ จะเผชิญกับความยากลำบากมากมายในปีที่ผ่านมา แต่ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 30.8% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ อย่าง โคโรลล่า ครอส ยาริส เอทีฟ ฟอร์จูนเนอร์ เลเจนเดอร์ ไฮลักซ์ รีโว่ และอินโนว่า คริสต้า ทั้งหมดนี้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า และส่งผลให้โตโยต้าสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้”
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี2563 | ยอดขายปี 2563 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี2562 |
ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายโตโยต้า | 244,316 คัน | -26.5% | 30.8% |
รถยนต์นั่ง | 68,152 คัน | -42.1% | 24.8% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 176,164 คัน | -17.9% | 34.1% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 149,635 คัน | -21.9% | 36.5% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 129,893 คัน | -21.5% | 35.6% |
มร.ยามาชิตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับเป้าหมายของโตโยต้าในปี 2564 โตโยต้ามีเป้าหมายการขายอยู่ระหว่าง 280,000 – 300,000 คัน หรือคิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น 15 – 23% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.3%”
ปริมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี2564 | ยอดขาย
ประมาณการปี 2564 |
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี2563 |
ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายโตโยต้า | 280,000 – 300,000 คัน | + 15-23% | 33.0% |
รถยนต์นั่ง | 82,500 – 92,000 คัน | + 21-35% | 29.0% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 197,500 – 208,000 คัน | + 12-18% | 36.0% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 168,500 – 181,000 คัน | + 13-21% | 38.0% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 144,000 – 153,000 คัน | + 11-18% | 38.0% |
ด้านการส่งออกในปี 2563 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 215,277 คัน ลดลง 18.7% ปริมาณการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 442,822 คัน ลดลง 22.4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
และการผลิตของโตโยต้าปี 2563 |
ปริมาณปี 2563 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2562 |
ปริมาณการส่งออก | 215,277คัน | -18.7% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 442,822 คัน | -22.4% |
ทั้งนี้สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 254,000 คัน เพิ่มขึ้น 18% จากปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากภูมิภาคหลัก เช่น เอเชียและโอเชียเนีย ทั้งนี้โตโยต้าตั้งเป้าการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 527,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 19% จากปี 2563 ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายยอดขายของทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
และการผลิตของโตโยต้าปี 2564 |
ปริมาณปี 2564 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการส่งออก | 254,000คัน | 18% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 527,000 คัน | 19% |
มร.ยามาชิตะ กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าในประเทศไทยว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมของเราได้ก้าวสู่ยุคแห่งการปฏิรูปครั้งใหญ่โดยโตโยต้ามุ่งมั่นปฏิรูปองค์กรจากเดิมที่เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สู่การเป็น “องค์กรแห่งการขับเคลื่อน” (Mobility Company) เรามีเป้าหมายเดินหน้ามอบความสุขให้กับสังคมไทย ด้วยกิจกรรมต่างๆที่โตโยต้าดำเนินการเพื่อผลักดัน “ธุรกิจการขับเคลื่อน” ของเรา